น้ำท่วมนาข้าวเสียหาย 3,000 ล้านบาท ส่อดันราคาข้าวสูงขึ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




น้ำท่วมในเดือนส.ค.-ต.ค.2565 อาจสร้างความเสียหายต่อข้าวนาปีราว 2,900-3,100 ล้านบาท...แต่คงต้องจับตาความรุนแรงของสถานการณ์น้ำที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

พายุโนรู อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศ แต่ก่อนหน้านี้ก็ได้สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนประชาชน จากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ พัดพาบ้านเรือน และพื้นที่ทางการเกษตร  โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ที่จะส่งผลกระทบต่อพืชเกษตรในฤดูกาลอย่างข้าวนาปี ซึ่งเกษตรกรได้ดำเนินการปลูกไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ 

น้ำเหนือมาก! กรมชลฯ เร่งระบายผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

เช็กอาการ เศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค. 2565 มีทั้งปัจจัยบวก-ปัจจัยลบ

ขณะที่หากย้อนดูสถานการณ์น้ำที่เริ่มส่อแววรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อไทยตั้งแต่เดือน ส.ค.2565 จากอิทธิพลของพายุมู่หลาน ขณะเดียวกันไทยยังเจอฝนตกชุกมาโดยตลอด

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าความเสียหายของข้าวนาปีจาก ผลกระทบของน้้าท่วมในช่วงเดือนส.ค.-ต.ค.2565 น่าจะอยู่ที่ราว 2,900-3,100 ล้าน บาท

ซึ่งอาจส่งผลทำให้ราคาข้าวให้ประคองตัวในระดับสูงได้ในช่วงนี้  เฉลี่ยราว 10,000-11,000 บาทต่อตัน ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงเมื่อเทียบกับช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 ที่มีราคาข้าวเฉลี่ยราว 10,165 บาทต่อตัน

แม้การประเมินตัวเลขความเสียหายต่อข้าวในปีนี้อาจมีมูลค่าไม่มากเมื่อเทียบกับในอดีตที่มีน้ำท่วมรุนแรงของไทยเช่นในปี 2554 (ราว 51,000 ล้านบาท) 2560 (ราว 17,000 ล้านบาท) และ 2562 (ราว 9,500 ล้านบาท) ทั้งในมิติของมูลค่าความเสียหายของข้าว และความสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวมระดับประเทศ

แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นทำให้หากเกิดภัยธรรมชาติขึ้นในอนาคต ความเสียหายต่อพื้นที่ทางการเกษตรอาจจะยิ่งมีมากขึ้นได้สำหรับในระดับภูมิภาค

ผลกระทบจากน้ำท่วม นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรแล้ว ยังอาจซ้ำเติมต่อภาคครัวเรือนที่เดิม
เผชิญความเปราะบางด้านกำลังซื้อ ค่าครองชีพและหนี้ที่สูง

 

นอกจากนี้ ยังคงตอ้งจบัตาสถานการณน้ำ ที่ยงัมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากยงัไม่สิ้นสุดฤดูฝนและอาจมีพายุ
เข้ามาเพิ่มเติมได้อีก ซึ่งมองต่อไป ในช่วงเดือน ต.ค.2565 ไทยน่าจะยังได้รับอิทธิพลจากพายุเขตร้อน
อยู่ ซึ่งจจะส่งผลต่อปริมาณน้า ฝนให้อยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้ ในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค.2565 อาจต้องจับตาสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ที่อาจสร้างความเสียหายต่อผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชเกษตรหลักในภาคใต้อีกด้วย

 

 

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ