ไขปริศนา"ค่าไฟ"แพงขึ้น 4 เดือนสุดท้ายของปี FT กระฉูด ตามราคาพลังงาน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลายคนคงสงสัย ทำไมค่าไฟเดือน ก.ย.ถึงพุ่งปรี๊ดแพงขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อนหน้า แม้ว่ารัฐบาลจะเคยออกมาบอกแล้วว่าจะมีการปรับขึ้นค่า FT หลังราคาพลังงานซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญเพิ่มสูงขึ้น แต่พอบิลค่าไฟฟ้ามาถึงบ้าน ก็ทำเอาตกใจไม่น้อย

ทำไมค่าไฟฟ้าถึงแพงขึ้น?

"เบน เบอร์นันเก" อดีตประธานเฟด คว้ารางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์

ค่าไฟขึ้นแน่ ทุบสถิติอีกรอบเป็น 4.72 บาทต่อหน่วย

เพราะตั้งแต่จะมีการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ที่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นแล้วการเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าเดือนกันยายน-ธันวาคม 2565 เท่ากับ 93.43 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นจากรอบก่อนหน้า 68.66 สตางค์/หน่วย

ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่ประชาชนต้องจ่ายอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดปัจจุบันที่ประชาชนจ่ายอยู่ 4 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงสุดทำสถิติใหม่อีกรอบ

ตามที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เห็นชอบ

สาเหตุที่ต้องปรับขึ้นค่า Ft ตามคำชี้แจ้งของ กกพ.

สาเหตุหลักมาจากราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นตามราคาพลังงานในตลาดโลก โดยเฉพาะสัดส่วน
การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีราคาสูง รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้ม
อ่อนค่าลง จึงส่งผลให้ค่า Ft เพิ่มสูงขึ้นมาก 

ซึ่งค่า Ft ที่คำนวณได้จริงประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 236.97 สตางค์/ หน่วย แต่ กกพ. ปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในอัตราที่ต่ำที่สุด เท่ากับ 93.43 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ไฟได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ขณะเดียวกัน กกพ. ได้พิจารณาผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าจากสถานการณ์วิกฤตพลังงาน และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ กกพ. จึงเห็นชอบค่า Ft ขายปลีกที่เรียกเก็บประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 เท่ากับ 93.43 สตางค์/หน่วย โดยยังไม่นำส่วนต่างของประมาณการค่า Ft ที่เรียกเก็บกับค่า Ft ที่เกิดขึ้นจริงสะสม
ในเดือนกันยายน 2564 - เมษายน 2565 มาเรียกเก็บในค่า Ft เดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 

 

สุดท้ายมาทำความรู้จัก ค่า FT ว่าคืออะไร? ทำไมมีผลต่อค่าไฟฟ้าของเรานัก

 Ft (ค่าเอฟที) ย่อมาจากคำว่า Float time หรือค่าไฟฟ้าผันแปร การลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้  เช่น  ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ใช้เป็นกรอบในการคำนวณ

 ซึ่งค่า Ft จะมีการปรับทุก 4 เดือน โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะกำกับดูแลการคำนวณให้สะท้อนราคาค่าเชื้อเพลิง ตามแนวโน้มราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลกระทบต่อการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐในเรื่องการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เช่น การให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) หรือมาตรการ Feed-in Tariff (FiT) ตลอดจนเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า

ค่า Ft เป็นค่าใช้จ่ายที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้และจะพิจารณาถึงผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมด้วยทุกครั้ง การปรับค่า Ft ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อผลประกอบการ (กำไร/ขาดทุน) แต่อย่างใด

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ