น้ำมันโลกขาลง โอเปกพลัสไม่ลดกำลังผลิต – กลุ่ม G7 หั่นราคาน้ำมันรัสเซีย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




น้ำมันโลก ราคายังร่วงต่อเนื่อง หลังกลุ่มผู้นำ G7 และยุโรป ตั้งเพดานราคาน้ำมันรัสเซียให้ต่ำกว่าตลาด ขณะที่กลุ่มโอเปกพลัส ไม่ลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม ด้านโบรกฯคาด ปี 2566 น้ำมันยังอยู่แนวโน้มขาลง ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

"ยุโรป" เริ่มเผชิญวิกฤตพลังงานในฤดูหนาว

รัสเซีย ลั่น ไม่รับเพดานราคาน้ำมันที่ชาติตะวันตกกำหนด

เช้านี้ (6 ธ.ค. 65) สถานราคาน้ำมันโลก ในช่วงตลาดเอเชียปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ภายหลังกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 หรือ G7 กำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย เพื่อลดรายรายได้นำไปทำสงครามกับยูเครน ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีผลวันนี้ ขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และพันธมิตร รวมถึงรัสเซีย หรือเรียกว่า โอเปกพลัส (OPEC+) มีการประชุมเมื่อ 4 ธ.ค. ยังคงกำลังการผลิตน้ำมันดิบเท่าเดิม

ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบทั่วโลก

• สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ปรับขึ้น 0.64 ดอลลาร์ หรือ +0.77% ล่าสุดอยู่ในระดับ 83.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาลดลงมาแล้ว -4.78%

• สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเวสต์เท็สซัส (WTI) ปรับขึ้น 0.65 ดอลลาร์  หรือ +0.84% ล่าสุดอยู่ในระดับ 77.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาลดลงมาแล้ว -3.16%

 

ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส (ASPS) เผยผ่านบทวิเคราะห์ระบุว่า แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ในภาวะผันผวนจากทั้งปัจจัยทางด้านความต้องการ (Demand) และ ปริมาณสินค้าทีต้องการขาย (Supply) ที่เข้ามากระทบ รวมถึงประเด็นบวกและลบต่อราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นระหว่างทาง

จากการพิจารณาสถานการณ์ดังกล่าว ฝ่ายวิจัยฯ ยังคงมุมมองที่คาดทิศทางราคาน้ำมันจะมีขาลง (Downside) มากกว่าขาขึ้น  (Upside) เพราะถูกกดดันจาก Demand ที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ กำหนดสมมติฐานราคาน้ำมันในปี 2566 คาดอ่อนตัวลงจากปี 2565 จากสถานการณ์สงครามที่เริ่มคลี่คลายทยอยกลับสู่ภาวะปกติ ความกังกวลด้าน Supply ผ่อนคลาย และประเด็นกดดันความต้องการใช้ที่สำคัญจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก

นอกจากนี้ ล่าสุดที่ประชุมสหภาพยุโรป (EU) ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7 หรือ G7 (ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส, อเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, ญี่ปุ่น,อิตาลี และแคนนาดา) รวมออสเตรเลีย กำหนดเพดานราคาน้ำมันจากรัสเซียไม่เกิน 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 2 เดือน เพื่อให้เพดานราคาอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของราคาตลาดอย่างน้อย 5% โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 5 ธ.ค. 2565 และยังไม่มีระบุวันสิ้นสุด)

ซึ่งมาตรการกำหนดเพดานราคาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้รัสเซียมีรายได้ลดลงที่จะนำไปสนับสนุนการทำสงครามในยูเครน แต่จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลกจนทำให้เกิดภาวะขาดแคลน

โดยประเด็นดังกล่าวถือเป็นอีกประเด็นที่สำคัญ กดดันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกให้ปรับตัวลดลง  แต่ในความเป็นจริงจะสามารถกระทำได้จริงมากน้อยเพียงใดถือเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป เพราะรัสเซียก็ออกมาตอบโต้เช่นกันว่าจะไม่ขายน้ำมันให้กลุ่ม EU และ G7 เช่นกัน

 

ด้านที่ประชุม OPEC+ มีมติไม่เปลี่ยนแปลงนโยบาลการผลิตในที่ประชุมครั้งนี้ โดยให้ยืนตามมติในการประชุมเมื่อวันที่ 5 ต.ค.65 ในการปรับลดกำลังการผลิตที่ 2 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกอยู่ที่ราว 40 ล้านบาร์เรล/วัน ไปจนถึงสิ้นปี 2566

แต่ทั้งนี้อาจมีปัจจัยหนุนเล็กน้อยจากการที่ชาวจีนได้ออกมาประท้วงนโยบายโควิดเป็นศูนย์จนส่งผลให้ภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการล๊อคดาวน์ในเมืองสำคัญหลายแห่งมากขึ้น

อย่างไรก็ตามภายใต้สถาการณ์ปัจจุบันจากทั้งพื้นฐานด้าน Demand และ Supply รวมถึง ประเด็นที่เข้ามากระทบช่วงสั้นต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกให้อยู่ในช่วงขาลงมากกว่าขาขึ้น

 

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ