คนมีคู่ กับ การวางแผนการเงินให้รักไม่สะดุด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ใกล้วาเลนไทน์เข้ามาทุกที หลายคนกำลังตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตคู่ จากเดิมที่เคยเป็นอิสระทางการเงิน อาจต้องมาวางแผนการใช้เงินร่วมกระเป๋ากันใหม่ ในแบบที่ไม่ทำให้ชีวิตรักสะดุด

วาเลนไทน์ปีนี้คนมีคู่อาจกำลังตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกัน หลายคู่จูงมือกันไปจดทะเบียนสมรส ถือเป็นจุดเริ่มต้นจากสองเป็นหนึ่ง เป็นคำว่า “เรา” ซึ่งไม่เพียงแค่การใช้ชีวิต การร่วมกันตัดสินใจ แต่เรื่อง “เงิน” ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องที่ต้องมานั่งวางแผนร่วมกันนับจากนี้

ข้อแตกต่าง "สินสมรส-สินส่วนตัว" รู้ไว้…ก่อน “แต่งงาน”

เงิน 3 ก้อนเตรียมพร้อมก่อน "แต่งงาน"

การวางแผนการเงินชีวิตคู่ อาจไม่ใช่แค่การเตรียมตัวสร้างเรือนหอ แต่ต้องมองไกลไปถึงการมีลูก สร้างกิจการเพื่อครอบครัว

 

ไปจนถึงยามเกษียณ ซึ่งทุกอย่างล้วนมีต้นทุนหากไม่วางแผน ณ วันนี้อาจเกิดปัญหาในระยะยาวตามมา จนเกิดความขัดแย้งในชีวิตค็เป็นได้

คำแนะนำจาก นักวางแผนการเงินอิสระ ธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่า สิ่งแรกๆ ที่ต้องพิจารณาคือ แต่งงานแล้วจะรวมกระเป๋า หรือ แยกกระเป๋า พร้อมวางแผนการเงินระยะสั้น กลาง ยาว เปิดอกคุยกันให้ชัดเจนและห้ามมีความับต่อกันเด็ดขาด

จากนั้นมาเริ่มที่เปิดบัญชี “บัญชีร่วมหรือเดี่ยว” ดีกว่ากัน

ถ้าบัญชีร่วม สามี-ภรรยามีสิทธิ์เท่ากัน ถือเป็นการรวมกระเป๋า ต่างคนต่างมีส่วนร่วมในการบริหารเงินครอบครัว แต่ถ้า “หย่า” จะต้องคิดว่าจะบริหารจัดการเงินก้อนนี้อย่างไร

ถ้าบัญชีเดี่ยว  แยกกระเป๋าต่างคนต่างมีรายได้ มีอิสระต่อการบริหารเงินของตัวเอง แต่สิ่งที่ตามมาคือ การบริหารจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายภายในบ้านให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าใช้จ่ายเรื่องลูก ใครต้องรับผิดชอบส่วนใด ซึ่ง ข้อเสีย ของบัญชีเดี่ยวคือ ไม่สามารถรู้สถานะทางการเงินของอีกฝ่ายได้ หากฝ่ายหนึ่งเกิดปัญหาทางการเงินอาจรับมือไม่ทัน

ตั้งเป้าหมายแล้ววางแผน เมื่อร่วมใช้ชีวิตคู่ สิ่งสำคัญคือนั่งจับเข่าคุยถึงเป้าหมายที่จะมีร่วมกัน เช่น

เป้าหมายระยะสั้น นอกจากวางแผนแต่งงาน ซื้อบ้าน ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ต้องนำมาคิดทั้งหมด ทั้งค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ค่าเทอม ค่าใช้จ่ายสำหรับวันหยุดพักผ่อน ท่องเที่ยว ประกันภัย (หัวหน้าครอบครัวควรมีทุนประกัน 5 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งปี เผื่อกรณีฉุกเฉิน) ไปจนถึงสภาพคล่องทางการเงินฉุกเฉิน อาจแบ่งจ่ายมารวมตรงกลางคนละเท่าไหร่ เป็นต้น

เป้าหมายระยะกลาง อาจเป็นเรื่องวางแผนการมีลูก ในกรณีที่มีลูกยากอาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของการพึ่งพาทางการแพทย์ การวางแผนเรื่องการมีลูกจึงเป็นเรื่องที่พูดคุยกันตั้งแต่ก่อนแต่งงานหรือเริ่มต้นชีวิตคู่จะดีที่สุด

เป้าหมายระยะยาว เป็นการวางแผนเรื่องการศึกษาบุตร เกษียณอายุ ซึ่งสองส่วนนี้บางทีพ่อแม่ลืมนึกถึงว่ามีความสำคัญมากไม่แพ้กัน เพราะบางครอบครัวนำไปทุ่มให้ลูกก่อนจนลืมวางแผนบั้นปลายชีวิตตัวเอง

คอนเทนต์แนะนำ
ไอเดียช่อดอกไม้ วาเลนไทน์ 2566 ส่งรักถึงคุณคนโปรด เปิดโหมดหวานเต็มพิกัด
7 Trick ต้องจด "ดินเนอร์" เพิ่มหวานมัดใจแฟน รับวาเลนไทน์ 2567

คำแนะนำการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสม

นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP นักวางแผนการเงินอิสระ ธนาคารไทยพาณิชย์แนะนำว่า

1.ควรมีเงินสภาพคล่อง 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายของครอบครัว อยู่ในบัญชีออมทรัพย์หรือกองทุนรวมตลาดเงิน

2.ประกันชีวิตสำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ทุนประกันที่เหมาะสมคืออยางน้อย 5 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งปีของครอบครัว

3.ประกันสุขภาพประกันสุขภาพ วางแผนโดยพิจารณาจากสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่มีอยู่ว่าเพียงพอหรือไม่ โดยพิจารณาจาก เมื่อเวลาเจ็บป่วย ใช้บริการของโรงพยาบาลอะไร และโรงพยาบาลดังกล่าวนั้นมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาลประมาณเท่าไหร่ จากนั้นก็มาพิจารณาจากสวัสดิการที่เรามีอยู่ว่าเพียงพอหรือไม่ หากไม่พอควรซื้อประกันสุขภาพส่วนตัวเพิ่มเติม
 

พอร์ตการลงทุนสำหรับเป้าหมายการศึกษาบุตร พิจารณาจากระดับความเสี่ยงที่รับได้ และระยะเวลาการลงทุน หากวางแผนตั้งแต่ลูกแรกเกิด ทำให้มีระยะเวลาลงทุนที่ค่อนข้างนาน สามารถลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในสัดส่วนที่สูงขึ้นได้
 

พอร์ตการลงทุนสำหรับเป้าหมายเกษียณอายุพิจารณาจากระดับความเสี่ยงที่รับได้และระยะเวลาการลงทุนเช่นกันสามารถใช้ RMF มาประกอบในพอร์ตการลงทุนได้ (เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี)

คอนเทนต์แนะนำ
รวม 10 ของขวัญ "วันวาเลนไทน์ 2567" ให้แล้วการันตีความอบอุ่นใจ
104 แคปชัน-คำอวยพร วาเลนไทน์ 2567 ประโยคเด็ดบอกสถานะ โสด มีคู่ อกหัก
14 กุมภาพันธ์ เปิดประวัติ "วันวาเลนไทน์" จากความรักที่ไม่สมหวัง
วาเลนไทน์ 2567 รวมมุกจีบสาว จีบหนุ่ม จดบทไปใช้เลย หวานฉ่ำให้เพื่อนอิจฉา!

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ