แนะ 5 วิธีตรวจสอบ Fake News บนโลกออนไลน์ ก่อนตกเป็นเหยื่อ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อความเชื่อที่ผิดๆ ตามข้อมูลบนโลกออนไลน์ดังนั้นต้องตรวจสอบรายละเอียดก่อน เพราะไม่เช่นนั้นอาจเจอ Fake News ได้

ปัจจุบันโลกโซเชียล กลายเป็นแหล่งรับข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของทุกคน อีกทั้งยังเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ในทันที เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ซึ่งการแชร์ข้อมูลบางครั้งมีทั้งจริงและไม่จริง นั้นก็ยากจะตรวจสอบหรือค้นหาต้นตอ อาจมีคนตั้งใจทำเนื้อหาข้อมูลเท็จขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง บางคนรับมาแล้วแชร์เนื้อหาผิด ๆ นั้นออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ (Misinformation)

รมว.ศธ.ไฟเขียวตั้งศูนย์ Fake News ดึง AI “ช่วยสกัด-ตอบโต้” พวกก่อกวน

“ประวิตร” สั่งกวาดล้างเฟกนิวส์ หวั่นกระทบความเชื่อมั่นรัฐบาล ช่วงวิกฤตโควิด

เมื่อพูดถึงคำว่า Fake News ไม่ได้หมายถึงข่าวที่ไม่จริงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงด้วย ดังนั้นถ้าเราอยากจะเข้าใจในกระบวนการการส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริง  ควรจะต้องทำความเข้าใจกับประเภทของข่าวสารข้อมูลเท็จ แรงจูงใจของคนทำ และเนื้อหาที่ถูกจัดทำขึ้นแล้วแพร่ออกไป 

โดยส่วนหนึ่ง Fake News ถูกจัดทำขึ้นเพื่อความตลก เสียดสี เพื่อความสนุกสนาน  ซึ่งผู้รับก็ทราบดีว่าเป็นเรื่องไม่จริงแต่ก็อยากจะอ่านและแชร์ หรืออีกประเภท คือเนื้อหาที่ทำขึ้นเพื่อให้เข้าใจผิด ทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ และเมื่อเราได้รับข้อมูล Fake News นั่นอาจส่งต่อการตัดสินใจ หรือสร้างความ

ดังนั้นก่อนที่จะเชื่อ หรือแชร์ข้อมูลใดๆ ไทยเซิร์ต ภายใต้การกำกับของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ  ETDA ได้ให้ข้อแนะนำได้ว่า 
 

1 . ดูความน่าเชื่อถือของเนื้อหาและการอ้างอิง ควรอ้างอิงที่มา ข้อมูลที่กล่าวถึงอย่างชัดเจน เช่น สถานที่ เวลา บุคคลที่สามที่กล่าวถึง หากไม่ระบุข้อมูลใด ๆ อาจะเป็นไปได้ว่าตั้งใจเผยแพร่ข่าวปลอม

2 . ตั้งข้อสังเกตเบื้องต้น ว่ามีเว็บไซต์หรือแหล่งข่าวอื่นที่มีข่าวในลักษณะเดียวกันหรือไม่ แหล่งข่าวได้มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำเสนอข่าวหรือไม่

3. เช็กภาพจากข่าวเก่า ข่าวปลอมอาจใส่ภาพจากข่าวเก่าให้ดูน่าเชื่อถือ สามารถนำ "ภาพ" มาค้นหาข้อมูลจาก TinEye หรือ Google โหมดค้นรูป อย่างไรก็ตามอาจตรวจสอบได้ในบางกรณีเท่านั้น

4. ตรวจสอบชื่อข่าวหรือเนื้อความในข่าวมาค้นหาใน Search Engine อาจพบเว็บไซต์แจ้งเตือนว่า ข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม หรือเมื่อพิจารณาดูวันที่เผยแพร่ข่าว อาจพบว่าเป็นข่าวจริง แต่เผยแพร่แล้วเมื่ออดีต

5. สอบถามหน่วยงานหรือสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ เช่น  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย หรือ ศูนย์ข่าวชัวก่อนแแชร์  สำนักข่าวไทย ให้ช่วยตรวจสอบแหล่งที่มาเพื่อความมั่นใจ

ปัจจุบัน โซเชียลมีเดียชั้นนำก็มีช่องทางให้ผู้ใช้สามารถแจ้ง หากพบข่าวปลอมหรือข้อมูลเท็จ ดูตัวอย่างการแจ้งข่าวปลอมได้ที่ thcert.co/S7ACML 

และทางที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อในการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ควรหลีกเลี่ยงการแชร์ เพื่อลดผลกระทบจากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

โปรแกรมแข่งขันกีฬา โอลิมปิก 2020 ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2564

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ