เรียนรู้เรื่อง "อุทกภัย" ภัยธรรมชาติ ที่ความรุนแรงขึ้นอยู่กับพื้นที่


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อุทกภัย ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งมักมีสาเหตุ และมีสัญญาณเตือนมาก่อนแล้ว ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้ว่าอะไรคือปัจจัยของการเกิดเหตุ รวมถึงวิธีเตรียมตัวในการรับมือ

ภัยธรรมชาติ ถือเป็นภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ ทำขึ้นโดยช่วงเวลาที่เกิดเราไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อไหร่ ตอนไหน เวลาอะไร หรือจะเกิดในรูปแบบไหน ส่วนความรุนแรงของภัยก็มักจะแตกต่างกัน

ซึ่งตามข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ภัยธรรมชาติ นั้นแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ประกอบด้วย วาตภัย , อุทกภัย ,ทุกขภิกขภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง , คลื่นพายุซัดฝั่ง ,แผ่นดินไหว , แผ่นดินถล่ม และ ไฟป่า และในช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงที่ประเทศไทยต้องประสบปัญหา อุทกภัย

คนกรุง -ปริมณฑล สบายใจได้อธิบดีกรมชลประทาน ยันน้ำไม่ท่วมซ้ำรอยปี 54

เตือน "โรคอุจจาระร่วง" โรคที่มากับน้ำท่วม

เมื่อพูดถึงอุทกภัย ก็หมายถึง ภัยที่เกิดจากจากสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน มีสาเหตุมาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องมาจาก 
     - หย่อมความกดอากาศต่ำ
    - พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น, พายุโซนร้อน, พายุใต้ฝุ่น
    - ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำ
    - ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
    - ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
    - เขื่อนพัง

สำหรับลักษณของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจะมีทั้งในรูปแบบของ 
    น้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำท่วมฉับพลัน ที่มักจะเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้ภูเขาต้นน้ำ เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้จำนวนน้ำสะสมมีปริมาณมากจนพื้นดิน และต้นไม้ดูดซับไม่ไหวไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ำ เบื้องล่างอย่างรวดเร็ว มีอำนาจทำลายร้างรุนแรงระดับหนึ่ง ที่ทำให้บ้านเรือนพังทลายเสียหาย และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

    น้ำท่วม หรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมาก ที่ไหลบ่าในแนวระนาบ จากที่สูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาได้รับความเสียหาย หรือเป็นสภาพน้ำท่วมขัง ในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนัก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล

    น้ำล้นตลิ่ง เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่อง ที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่าง หรือออกสู่ปากน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมเรือกสวน ไร่นา และบ้านเรือนตามสองฝั่งน้ำ จนได้รับความเสียหาย ถนน หรือสะพานอาจชำรุด ทางคมนาคมถูกตัดขาดได้

และหลังเกิดอุทกภัย ทุกครั้งก็จะเผยให้เห็นความเสียหาย ทั้งอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน คนและสัตว์พาหนะและสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ำตาย , เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดเป็นช่วง ๆ , ระบบสาธารณูปโภค จะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ไฟฟ้า และประปา ฯลฯ ใช้การไม่ได้ และ พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ทุกประการที่กำลังผลิดอกออกผล อาจถูกน้ำท่วมตายได้ 

อีกทั้งยังส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ ในพื้นที่นั้น รวมไปถึง เกิดโรคระบาด หรือคนมีสุขภาพจิตเสื่อม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

สำหรับวิธีป้องกันตัวเอง และบรรเทาเหตุอุทกภัยสามารถทำได้ดังนี้ 
1. วางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำหนดผังเมือง เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวเมือง ไม่ให้กีดขวางทางไหลของน้ำ กำหนดการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่น้ำท่วม ให้เป็นพื้นที่ราบลุ่มรับน้ำ เพื่อเป็นการหน่วงหรือชะลอการเกิดน้ำท่วม

2. การออกแบบสิ่งก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ให้มีความสูงเหนือระดับที่น้ำเคยท่วมแล้ว เช่น บ้านเรือนที่ยกพื้นสูงแบบไทย ๆ เป็นต้น

3. การเคลื่อนย้ายวัสดุจากที่ที่จะได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากน้ำท่วม ให้ไปอยู่ในที่ปลอดภัยหรือในที่สูง

4. การนำถุงทรายมาทำเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วม

5. การพยากรณ์และการเตรียมภัยน้ำท่วม เพื่อให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียม ป้องกัน

6. การสร้างเขื่อน ฝาย ทำนบ และถนน เพื่อเป็นการกักเก็บน้ำหรือเป็นการกั้นทางเดิน

ทั้งนี้หากเราต้องเผชิญเหตุอุทกภัย ควรตั้งสติให้มั่นคง อย่าตื่นกลัวหรือตกใจ ควรเตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ด้วยความสุขุม รอบคอบ พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เป็นดีที่สุด

ปภ.เตือนภัย 23 จังหวัด เหนือ-อีสาน-กลาง ระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง

กทม.จะท่วมไหม! เผยสถานการณ์น้ำเจ้าพระยา ผู้ว่าฯสั่งเตรียมพร้อม

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ