พล็อตหนังแนวสัตว์ประหลาดไล่ล่า, แนวฆาตกรโรคจิต, มนุษย์ต่างดาว, ซอมบี้ และสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ ดูจะเป็นสื่อเพื่อความบันเทิงมากกว่า ซึ่งตรงข้ามกับภาพของการบำบัดความเครียดโดยสิ้นเชิง
ซึ่งความตั้งใจของหนังแนวนี้ ก็คือ การพยายามจะทำให้เรากลัว ตื่นเต้น ตกใจแบบสุดขีด แต่อีกมุมหนึ่ง “หนังสยองขวัญ" ก็ไม่ได้สร้างความกลัวเสียทีเดียว หากแต่เป็นการปลดปล่อย ซึ่งผู้กำกับ Wes Craven จากหนังเรื่อง Scream เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในสารคดีเรื่อง “Fear in the Dark” ดูจะไม่ใช่เรื่องเกินจินตนาการ
Suspiria หนังสุดโหด สำหรับ "ดาโกต้า จอห์นสัน"
{related-program-line-60267}
เพราะเมื่อเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว ร่างกายของเราจะสั่นเทิ้ม หลั่งอะดรีนาลีน
ออกมาซึ่งกลับกลายเป็นสิ่งที่ดีต่อเรา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Andrew Scahill มหาวิทยาลัย Colorado Denver ผู้แต่งหนังสือ “The Revolting Child in Horror Cinema” พูดถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ปล่อยให้ตัวคุณเองได้ถูกกระตุ้น ในสถานที่ปลอดภัย จะช่วยในกระบวนการการบำบัดได้”
ปรับตัวรับมือได้ดีขึ้นด้วย “เสียงกรี๊ด”
ลองนึกถึงสิ่งที่หนังสยองขวัญนำเสนอให้แก่ผู้ชมที่นอกเหนือจากความบันเทิง ในแง่ของการส่งมอบประสบการณ์จำลองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความตาย
ร่างกายจะพยายามสื่อสารกับเราถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่เรารับรู้ได้ว่าเรากำลังนั่งเก้าอี้อันแสนสบายในโรงหนังกับกระบวนการบำบัดในรูปแบบนี้
นอกจากนี้หนังสยองขวัญยังช่วยเราเรียนรู้กับการรับมือ “ความเครียดในชีวิตจริง” ของเราได้เพราะในระหว่างที่เรากำลังดูหนังอยู่นั้น เราจะเริ่มรู้สึกถึงความวิตกกังวล ผ่านการกระตุ้นของหนัง ซึ่งความวิตกกังวลนี้จะไม่เหมือนกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ในทางกลับกัน ความวิตกกังวลจากหนังจะช่วยให้เราได้เรียนรู้ถึงการจัดการสภาวะเหล่านี้ได้ และสามารถนำไปใช้จริงได้ในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับเราผ่านชีวิตประจำวัน
หนังสยองขวัญช่วยให้เรากล้าเผชิญหน้ากับความกลัว
เมื่อเรื่องราวของหนังสยองขวัญดำเนินมาถึงช่วงท้าย ตัวเอกที่ถูกตามล่า มักจะหาวิธีการในการจัดการกับวายร้ายได้ในที่สุด ลักษณะพล็อตหนังแบบนี้จะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้เรากล้าที่จะเผชิญกับความกลัว ซึ่งมีหลายครั้ง ที่เราจำเป็นต้องตัดสินใจในเรื่องยาก ๆ หรือเผชิญความท้าทาย ที่ทำให้เรากลัวถึงผลลัพธ์ที่อาจจะตามมา
รู้สึกกลัวในสถานที่ “ปลอดภัย” ช่วยบรรเทาความรู้สึกได้ดี
จากรายงานข่าวของ Business Insider พูดถึงในช่วงเดือนพฤษาคม 2020 ที่เป็นช่วง
เกิดการระบาดสูงสุดของโควิด-19 ยอดขายหนังดิจิทัลประเภท “สยองขวัญ” มียอดขายพุ่งสูงถึง 194%เมื่อเทียบกับช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
Kurt Oaklee ผู้ก่อตั้ง Oaklee Psychotherapy ได้พูดถึงเหตุการณ์นี้ว่า “มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น ในช่วงเวลาที่เครียดคนมักจะมองหาหนังสยองขวัญดู”
เช็กสัญญาณเตือน จากเด็กว่าเข้าข่ายถูกทารุณกรรม และถูกทอดทิ้งหรือไม่
อเล็ก บอลด์วิน ทำปืนลั่นระหว่างถ่ายหนัง ทีมงานตาย 1 ผู้กำกับบาดเจ็บสาหัส
อย่างไรก็ดีการบำบัดด้วยหนังสยองขวัญอาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน หากเป็นคนที่มีอาการวิตกกังวลง่ายควรหลีกเลี่ยงวิธีนี้ เพราะจะส่งผลเสียมากกว่า
และถ้าเราเริ่มสังเกตว่าตนเองอาจจะมีความเครียด หรือความวิตกกังวลที่มากกว่าปกติ ควรพบนักบำบัด หรือจิตแพทย์เพื่อรักษาต่อไป