4 ขั้นตอนหยุดแรงกระตุ้นภายใน กับดักความรู้สึก ที่หยุดความตั้งใจที่ดี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แรงกระตุ้นจากภายใน (Internal Trigger) คือความรู้สึก และความคิดที่เกิดขึ้นในหัวของเราซึ่งมักจะพาเราไปติดกับดักกิจกรรมบางอย่างที่ไม่พึงปรารถนา

ลองจินตนาการถึงตอนที่เราทำในสิ่งที่รู้ว่ามันไม่ดี แต่ก็ยังทำเพราะรู้สึกดีชั่วคราวเช่น หยิบมือถือขึ้นมาดูทั้งที่ไม่ได้มีอะไรต้องใช้บ่อย ๆ, สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้เพราะโปรโมชันดีเลยอดใจไม่ได้ อารมณ์และความคิดเหล่านี้คือสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมให้เกิด หรือไม่เกิดได้ แต่เราเลือกที่จะทำอย่างไรต่อสิ่งเหล่านั้นได้ 
ด็อกเตอร์ Jonathan Bricker ผู้ทำงานวิจัยด้านโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่  (Smoking Cessation Programs) แห่ง Fred Hutchinson Cancer Research Center แนะนำว่า

ผู้หญิงที่ใช้แรงบันดาลใจ เพื่อทำในสิ่งที่รัก และเพื่อคนที่รัก
เป็นทาสแมวแล้วมันดียังไง 10 สิ่งดีๆ ที่เจ้าเหมียวสอนเรา

 

“เราไม่จำเป็นต้องคอยบอกตัวเองให้หยุดคิดถึงอารมณ์ และความคิดที่กระตุ้นให้เราทำสิ่งต่าง ๆ สิ่งที่เราควรทำ คือการเรียนรู้หาหนทางที่ดีกว่าในการรับมือกับแรงกระตุ้นภายในเหล่านี้ ด้วย 4 ขั้นตอนที่ช่วยรับมือ”

ขั้นตอนที่ 1 มองหาความรู้สึกที่เกิดก่อนที่เราจะทำต่อแรงกระตุ้นภายใน
ในขณะที่เรากำลังทำรายงานส่งอาจารย์ หรือหัวหน้า จะมีความรู้สึกหนึ่งที่ทำให้เราหยุดทำเรื่องที่เรากำลังทำอยู่ตรงหน้าอย่างดูซีรีส์อีกตอน, เล่นเกมอีกซัก 1 ตา หรือส่องโซเชียลซักหน่อย ให้เราลองสำรวจถึงอารมณ์ที่เกิดก่อนที่เราจะทำเรื่องที่เราไม่ได้กำลังตั้งใจทำว่า เรารู้สึกอย่างไร อย่างเช่น กระสับกระส่าย, กังวลมากเกินไป หรือเกิดความอยากขึ้นมา 

ขั้นตอนที่ 2 จดบันทึกแรงกระตุ้น
ลองหาสมุดจดบันทึกซักเล่ม เพื่อบันทึกถึงแรงกระตุ้นที่เข้ามาในหัวของเรา ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก หรือความคิด จดทุกครั้งที่เกิดขึ้นมาถึงแม้ว่าเราจะทำตามแรงกระตุ้นภายในนั้นหรือไม่ก็ตาม ช่วยให้เราสังเกตถึงแรงกระตุ้นภายในเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้เรามองเห็นถึงแรงกระตุ้นภายนอก (External trigger) เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลา และทำอยู่เรื่อย ๆ เพื่อความแม่นยำอย่างเช่น “ฉันรู้สึกกระวนกระวายใจ หากไม่ได้เข้าไปเช็คไอจี”

ขั้นตอนที่ 3 สำรวจความรู้สึก
เมื่อเกิดความรู้สึกขึ้น ให้เราลองอยู่กับความรู้สึกนั้นก่อนที่จะทำตามแรงกระตุ้นนั้น แล้วลองสำรวจดูความรู้สึกนั้นอย่างเช่น นิ้วกระตุก, ท้องไส้ปั่นป่วน
ซึ่ง ด็อกเตอร์ Jonathan แนะนำเทคนิคที่เรียกว่า “ใบไม้บนสายน้ำ” คือเมื่อเราเกิดแรงกระตุ้นภายใน ให้ทำในสิ่งที่เราไม่ควรทำตอนนั้น ให้ลองจินตนาการว่าเรากำลังนั่งอยู่ข้างสายน้ำที่กำลังไหลเอื่อย ๆ ใบไม้นั้นค่อย ๆ ไหลไปตามสายน้ำ ซึ่งใบไม้เหล่านั้นคือแรงกระตุ้นภายในของเรา และเรานั่งดูอยู่กับที่ ปล่อยให้ใบไม้เหล่านั้นไหลไปตามสายน้ำจนลับตาเราไป

ขั้นตอนที่ 4 ระวังว่าจะเผลอทำ (Liminal Moments)
ในขณะที่เรากำลังขับรถอยู่ ระหว่างติดไฟแดงเราหยิบมือถือขึ้นมาส่องโซเชียล ไม่แน่ใจ ว่าผ่านไปนานแค่ไหน แต่เมื่อเรารู้ตัวอีกทีเราก็กำลังเล่นมือถือในขณะที่เรากำลังขับรถอยู่

เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่ทันได้ตั้งตัว เพียงแค่เริ่มทำและคิดว่า “นิดหน่อยน่า” แต่กว่าจะรู้ตัวก็ผ่านไปเป็นชั่วโมงแล้ว

ลองใช้ “กฎ 10 นาที” ยกตัวอย่างเช่น “เมื่อเราอยากส่องโซเชียลมันก็ดีนะ ที่จะได้รู้ความเป็นไปของเพื่อน และสังคม แต่เดี๋ยวอีก 10 นาทีเราค่อยส่องแล้วกัน”

“กฎ 10 นาที” จะช่วยให้เราลดพฤติกรรมในสิ่งที่เกิดแรงกระตุ้นภายในได้ดี

นักจิตวิทยาด้านพฤติกรรมศาสตร์ พูดถึง “กฎ 10 นาที” นี้ว่าคือ “การเล่นเซิฟบนคลื่นแรงกระตุ้น” คือเมื่อเราเกิดแรงกระตุ้นขึ้นมาเรารั้งความรู้สึกนั้นไว้ก่อน รับรู้ถึงความรู้สึกนั้นและโต้มันราวกับเป็นคลื่น ซึ่งมีความแตกต่างจากการพยายามลืมความรู้สึกนั้น หรือตอบสนอง และทำตามแรงกระตุ้นนั้น ซึ่งผลจากการศึกษาโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่พบว่าช่วยลดปริมาณการสูบลงได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้เทคนิคดังกล่าว

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ