ให้อิสระกับเด็กขณะอยู่หน้าจอ สร้างสุขภาพจิตอย่างเหมาะสมด้วย 3 เงื่อนไข


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ให้เด็กใช้หน้าจออย่างเหมาะสม สร้างสุขภาพจิตอย่างเหมาะสมด้วย 3 เงื่อนไข

เรามักเห็นปฏิกิริยาทางสังคมในทางที่ไม่ดีต่อเทคโนโลยีเมื่ออยู่ในมือเด็ก เพราะกังวลกับการติดหน้าจอ
อย่างที่เลวร้ายสุดคือการถอดปลั๊ก หรือทำลายอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ของเด็ก ซึ่งหลายครั้งมักเป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่ใช่สาเหตุของปัญหา และการใช้มาตรการที่รุนแรงไม่ใช่ทางออก
เราควรเริ่มทำความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับเทคโนโลยีเหล่านั้น ถ้าเราเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม

เกม.เปลี่ยน.ชีวิต
ความน่ากลัวของโลกออนไลน์ ภาพสะท้อนของชีวิต ‘ออฟไลน์’ ที่ผู้ปกครองต้องโฟกัสให้ถูกจุด

เด็กเองก็มีความต้องการทางด้านจิตใจ (Psychological Needs) หากร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อให้ร่างกายเติบโตอย่างโปรตีน, วิตามิน, คาร์โบไฮเดรต หรือไขมัน เป็นต้น

จิตใจเองก็มีความต้องการพื้นฐาน 3 ด้านด้วยกันเพื่อพัฒนา และทำให้จิตใจนั้นมีสุขภาพที่ดี และเติบโตอย่างสมวัย

1. อิสระในการตัดสินใจ (Autonomy)
อาจจะฟังดูเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับคุณพ่อ คุณแม่  แต่จากการศึกษาของนักจิตวิทยาอย่าง Marciela Correa-Chavez และ Barbara Rogoff ที่ศึกษาครอบครัวชาวมายัน

เด็กมายันได้รับการศึกษาที่แตกต่างจากที่เราคุ้นเคย พ่อแม่ชาวมายันให้อิสระมากกว่าที่เราคุ้นเคยกับลูกของพวกเขา โดยไม่ได้วางเป้าหมายแก่ลูกของพวกเขา แต่พยายามจะให้สิ่งตอบแทน หรือรางวัล
เมื่อลูกของพวกเขาสามารถไปถึงเป้าหมายที่เด็กตัดสินใจเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อ และแม่

ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงเด็กที่มีอิสระในการตัดสินใจเลือกเป้าหมายด้วยตนเอง มีความตั้งใจ และเรียนรู้ที่ยั่งยืนกว่าการถูกควบคุม หรือจัดการโดยผู้ใหญ่

หากลองนำมาปรับใช้สำหรับคุณพ่อ และคุณแม่คือการช่วยให้เด็กได้ลองกำหนดขอบเขตของตนเองในการใช้เทคโนโลยี เป้าหมายของพ่อแม่ คือการทำให้เด็กเข้าใจว่าทำไมถึงควรมีช่วงเวลาในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีขอบเขต มากกว่าบังคับ หรือมีกฎที่เข้มงวด

การร่วมตัดสินใจด้วยกันระหว่างพ่อแม่ และลูกมีโอกาสที่จะทำให้เด็กเองรับฟังในคำแนะนำของเรามากขึ้น

2. ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง (Competence)
ลองนึกถึงช่วงเวลาที่เราทำอาหารเองแล้วออกมาอร่อย หรือประกอบเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปได้ออกมาอย่างลงตัว

การได้ทดลองทำด้วยความพยายาม และลงแรงด้วยตนเอง เมื่อผลลัพธ์นั้นออกมาด้วยดี และประสบความสำเร็จ คือความรู้สึกที่ดีจากการได้เรียนรู้ และลงมือทำด้วยตัวเอง เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ในปัจจุบันเรากลับมีรูปแบบของการทดสอบมากมาย ที่บอกกับเด็กว่า “คุณไม่ประสบความสำเร็จ” อย่างข้อสอบ ที่เราต้องไม่ลืมว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
และยิ่งเด็กที่ไม่ประสบความสำเร็จจากโรงเรียน และไม่ได้รับความช่วยเหลือจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองนั้นไร้ความสามารถ

คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะชั่งน้ำหนักถึงความสำคัญในด้านวิชาการ หรือกิจกรรมอื่นอย่างกีฬา, ศิลปะ และอย่างอื่นที่สามารถพัฒนาความสามารถ และทักษะได้ ด้วยการพูดคุยกับเด็กถึงสิ่งที่ทำแล้วสนุกไปกับสิ่งนั้น ให้การสนับสนุนเพื่อให้เด็กได้ประสบความสำเร็จใน

3. ความสัมพันธ์ทางสังคม (Relatedness)
เราทุกคนล้วนต้องการความเชื่อมโยงกับผู้อื่น เรามีความต้องการที่จะเข้าใจผู้อื่น และตัวเราเอง
โอกาสที่เด็กจะได้มีความสัมพันธ์เหล่านี้คือการเล่นกับเด็กคนอื่น คุณพ่อ คุณแม่หาเวลาให้กับเด็กได้มีโอกาสได้เล่นกับเด็กคนอื่น โดยให้อิสระภายใต้การดูแล เพื่อสร้างโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น เติมเต็มความต้องการทางจิตใจ เพื่อสุขภาพจิตที่ดี

อาการติดจอคอมพิวเตอร์ - มือถือ เป็นภัยเงียบที่ทำลาย "จอประสาทตา"

6 สิ่งที่ไม่ควรโพสต์ลงโซเชียล เสี่ยงเป็นภัยกับตัวเอง

 

ที่มา nirandfar.com

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ