ทำไม? "เราถึงทำร้ายคนที่เรารัก" และ "เรายังรักคนที่ทำร้าย"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลายคนที่เลือกจะอยู่กับความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ มาดูกันว่า ในมุมมองทางจิตวิทยาสิ่งเหล่านี้มีคำอธิบายว่าอย่างไร

สิ่งที่สังคมให้การยอมรับในความสัมพันธ์ที่ดีคือ การสนับสนุน และประคับประคองความรู้สึก จิตใจ และร่างกายระหว่างกันให้ออกมาดีอยู่เสมอ

เมื่อเรามองในมุมมองคนธรรมดา ทุกอย่างคือเรื่องปกติ  เมื่อเราคาดหวังถึงความสัมพันธ์ก็ต้องการการดูแลรักษาความรู้สึกที่ดี และสนับสนุนให้อีกฝ่ายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไป

หากทุกอย่างอยู่ในมุมตรงข้ามกัน โดยทั่วไปเรามักจะตัดสินว่าความสัมพันธ์เหล่านั้นเป็นพิษ (Toxic Relationship) ซึ่งต้องหาทางจัดการแก้ไข หรือออกมาจากความสัมพันธ์แบบนี้ เพื่อฟื้นฟูตัวเองให้กลับมาดีขึ้น

โรคซึมเศร้า! มหันตภัยร้าย คร่าชีวิต
ประโยคที่ควรพูด & ไม่ควรพูด กับผู้ป่วยซึมเศร้าที่คนดูแล - ใกล้ชิด ต้องรู้

แต่ก็ยังคงมีคนอีกหลายคนที่เลือกจะอยู่กับความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ซึ่งดูจะเป็นสิ่งที่ค้านสายตาใครหลายคนที่มองว่าเป็นเรื่องผิดปกติ 

แต่ในมุมมองทางจิตวิทยาสิ่งเหล่านี้มีคำอธิบาย ว่าทำไมใครหลายคนที่เราอาจจะรู้จัก  หรือพบเห็นตามข่าวต่าง ๆ จึงเป็นเช่นนั้น

คำอธิบายต่อไปนี้ จะช่วยให้เราพยายามทำความเข้าใจ และเรียนรู้ถึงความแตกต่าง และหาวิธีจัดการ หรือการช่วยเหลือที่เหมาสม

 

ความสัมพันธ์ของมนุษย์
มนุษย์นั้นชีวิตถูกเติมเต็มด้วยความสัมพันธ์จากการที่เราเชื่อมโยงกับใครสักคน สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติของมนุษย์

และการแสดงออกทางความสัมพันธ์นั้นมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่บอกคำว่า “รัก” ไปจนถึงการแสดงออกต่าง ๆ อย่างการกอด โอบไหล่

และการทำร้ายอีกฝ่ายคือหนึ่งในรูปแบบการแสดงออกทางความรักอย่างหนึ่ง ไม่ว่าเราเป็นฝ่ายที่กระทำ

หรือถูกกระทำแล้วยังรู้สึกถึงความรัก หมายถึงว่าเรากำลังอยู่ในสภาวะ “การรับรู้ไม่ลงรอย” (Cognitive Dissonance) คือเมื่อเรารู้สึกถึงความเชื่อที่ขัดแย้งกับประสบการณ์ที่เคยพบเจอมาเราจึงมักแสดงออกเพื่อให้ตนเองไม่รู้สึกเครียดจากการรับรู้ที่ไม่ลงรอย 

 

ทำไมเราถึงทำร้ายคนที่เรารัก
ถึงแม้จะเป็นความสัมพันธ์ที่ดีแค่ไหน เราและอีกฝ่ายอาจมีทำร้ายความรู้สึกกันอยู่แล้วไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด แต่การที่ต่างฝ่ายต่างเยียวยากัน เรียนรู้ที่จะให้อภัย และเข้าใจกันจึงทำให้ความสัมพันธ์นั้นยังดีอยู่ และบางครั้งก็เหนียวแน่นมากขึ้นด้วยความเข้าใจ และผูกพันด้านอารมณ์

แต่ก็ยังมีคนที่ไม่รู้สึกผิด หรือกังวลในการที่จะทำร้ายคนอื่นทั้งทางร่างกาย และจิตใจแต่ยังคงต้องการรักษาความสัมพันธ์ไว้อยู่โดยไม่ปรับรูปแบบการแสดงออกในความสัมพันธ์ซึ่งมีคน 6 ประเภทหลัก ๆที่มีพฤติกรรมรูปแบบดังกล่าวคือ

1. มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นต่ำ ขาดความเข้าใจ และรับรู้ความรู้สึกอีกฝ่าย และไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ตนได้กระทำลงไปคือการทำร้ายอีกฝ่าย ซึ่งหากอีกฝ่ายมีความตั้งใจที่จะแก้ไข อาจเริ่มต้นด้วยการสื่อสารและตั้งกฎขึ้นมาว่าการกระทำแบบไหนคือสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้

2. ไม่ชอบตัวเอง คือคนที่รู้สึกไม่ชอบตัวเองและส่งต่อสู่คนอื่นด้วย โดยเฉพาะในคนที่เคยถูกล่วงละเมิด เช่นความรุนแรง มีแนวโน้มที่จะส่งต่อประสบการณ์เหล่านั้นสู่คนใกล้ตัว หรือคนรัก เพื่อต้องการให้อีกฝ่ายมีประสบการณ์ร่วมแบบเดียวกับตน

หากคุณกำลังเจอกับคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว และตัดสินใจที่จะยังใช่ชีวืตร่วมกันควรให้อีกฝ่ายได้รับการช่วยเหลือ หรือจัดการต้นตอของปัญหาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อไม่ให้เกิดรูปแบบพฤติกรรมอันไม่พึงปรารถนาอีก

3. รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า เมื่อเจ้าตัวรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเองต่ำไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด มักจะมีพฤติกรรมแสดงออกด้วยการทำร้ายคนรอบตัว และหากเกิดจากอีกฝ่าย ก็มักจะเกิดการทำร้ายอีกฝ่าย หาสาเหตุของความรู้สึกด้อยค่าของอีกฝ่ายให้เจอ และแสดงออกถึงคุณค่าในตัวเขา โดยไม่คิดไปเองว่าเขารู้อยู่แล้วว่าเราให้คุณค่ากับเขามากแค่ไหน

4. มีวัตถุประสงค์แอบแฝง มีบ่อยครั้งที่การทำร้ายกันเกิดจากความไม่ตั้งใจ แต่ก็มีหลายครั้งที่การทำร้ายกันด้วยวาจา หรือร่างกายมีวัตถุประสงค์แอบแฝงอื่นอย่างความต้องการที่จะตนเองอยู่เหนืออีกฝ่ายของความสัมพันธ์นี้ 

หากเรากำลังรู้สึกถึงพฤติกรรมแบบนี้กับอีกฝ่าย ให้พยายามพูดคุยถึงปัญหานี้ และหาทางแก้ไขให้อีกฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา และรับการช่วยเหลือที่จำเป็นจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงตัวเราเองที่เป็นฝ่ายถูกทำร้ายด้วยเช่นกัน และลองพิจารณาถึงทางเลือกที่จะออกจากความสัมพันธ์แบบนี้

5. ชอบทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บปวด มักเกิดจากการถูกล่วงละเมิดต่าง ๆ ในวัยเด็ก โดยคนลักษณะแบบนี้ มักจะรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ทำร้ายคนอื่น และการทำร้ายคนอื่นยังช่วยให้เจ้าตัวรู้สึกถึงความเจ็บปวดของตนเองในอดีตน้อยลง และรู้สึกเท่าเทียมถึงประสบการณ์ความเจ็บปวดของตนเองกับอีกฝ่าย

หากเรากำลังรู้สึกถึงพฤติกรรมแบบนี้กับอีกฝ่าย ให้พยายามพูดคุยถึงปัญหานี้ และหาทางแก้ไขให้อีกฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา และรับการช่วยเหลือที่จำเป็นจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงตัวเราเองที่เป็นฝ่ายถูกทำร้ายด้วยเช่นกัน และลองพิจารณาถึงทางเลือกที่จะออกจากความสัมพันธ์แบบนี้

6. การทำร้ายอีกฝ่ายเป็นเรื่องง่าย อาจจะฟังดูเหมือนการล่าเหยื่อ แต่โดยจิตใต้สำนึกของมนุษย์แล้วเรามักจะมองหาความสัมพันธ์ที่คุ้นเคย หรือมีประสบการณ์มาก่อน อาจจะเกิดจากการที่ตัวเราเคยถูกทำร้าย และกลายเป็นความเคยชิน จนอีกฝ่ายเลือกที่จะทำร้ายเราเพราะรู้สึกถึงตัวเราในแบบนั้น

หากเราอยู่ในความสัมพันธ์ดังกล่าว ควรมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

ทำไมเราถึงยังรักคนที่ทำร้ายเรา
อาจจะฟังดูเป็นเรื่องแปลกอย่างหนึ่งถึงคนทื่ถูกกระทำ แล้วยังคงอยู่กับความสัมพันธ์ที่ไม่ดี หรือถูกละเมิดจากอีกฝ่ายของความสัมพันธ์

งานวิจัยทางจิตวิทยาอธิบายถึงคนยังคงอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษไว้ 6 ประเภทคือ

1. ความพึงพอใจต่อความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ เกิดจากการที่เรารู้สึกถึงคุณค่าในตัวเองต่ำ และเชื่อว่าความสัมพันธ์นี้เหมาะสม

2. มองว่าพฤติกรรมไม่พึงประสงค์คือเรื่องดี “ที่ทำร้ายเธอเพราะเธอไปคุยกับผู้ชายคนอื่น ทั้งที่เป็นแฟนฉัน” คือตัวอย่างหนึ่ง ที่อธิบายเรื่องนี้ได้อย่างดี การลงโทษให้เกิดความรุนแรงทางกาย หรือวาจาไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ดี การถูกทำให้เชื่อ หรือลวงให้มองว่าดี 

3. มองว่าทางเลือกอื่นด้อยกว่า มักพบในคนที่รู้สึกถึงคุณค่าในตนเองต่ำ และอยู่ในสภาวะที่ต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจ ทำให้มองว่าทางเลือกอื่นไม่ใช่ทางเลือกที่ดี และยอมรับความสัมพันธ์ที่เป็นพิษต่อไป

4. ถูกอีกฝ่ายหลอกหรือบังคับ อีกฝ่ายจะเลือกใช้วิธีการหลอกลวง หรือคำสั่ง ข่มขู่ถึงความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากออกจากความสัมพันธ์นี้  

5. การมีลูก หรือทรัพย์สินร่วมกัน เป็นการอยู่ในสภาวะจำยอมจากการใช้เวลาร่วมกันเป็นระยะเวลานาน ทุ่มเททรัพยากรหลายอย่างตั้งแต่เวลา, เงิน, ความตั้งใจ หรือการมีลูกด้วยกัน และเชื่อว่าการออกจากความสัมพันธ์จะส่งผลเสีย

6. ความรัก นักจิตวิทยาแบ่งองค์ประกอบที่แตกต่างกันของความรักออกเป็น 3 ส่วนคือ ความคิด, ความรู้สึก และการกระทำ อย่างเช่นเราอาจจะเกิดความคิดที่ว่าความสัมพันธ์นี้ไม่ดีต่อเรา และความรู้สึกที่ไม่ได้รักหรือดีแบบที่เคยเป็อยู่ แต่ยังมีการกระทำที่ดูแลใส่ใจกันอยู๋ เราจึงยังคงอยู่ในความสัมพันธ์ 

หากเรากำลังเผชิญอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว การขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด และมองหาความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้เราทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ และหาทางออกที่เหมาะสม 

หรือหากคนใกล้ชิดเรากำลังเผชิญอยู่กับสถานการณ์ดังกล่าวควรที่จะให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนช่วยกันชี้ให้เห็นถึงปัญหาเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม 

ที่มา 6 Reasons Some People Hurt the Ones They Love | Psychology Today

6 Reasons Why We Stay in Bad Relationships | Psychology Today

Why am I still in love with my Ex when he treated me so badly? Hannah Jensen-Fielding | Vision Psychology Brisbane

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ