วิสาขบูชา 2566 : "ตักบาตร" อย่างไรให้ได้บุญ สงฆ์ไทยสุขภาพดี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดแนวทางการตักบาตรให้สงฆ์ไทยห่างไกลโรค หลังเผชิญวิกฤตโรคทางโภชนาการ เพราะพระเลือกฉันไม่ได้ การได้รับความใส่ใจจากฆราวาสจึงสำคัญ!

“วันวิสาขบูชา” เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันและเสด็จดับขันธปรินิพพาน 

ส่งผลให้ในวันสำคัญนี้ พุทธศาสนิกชนมักเข้าวัดทำบุญ และกิจกรรมที่นิยมกันมากคือ “ตักบาตร” เชื่อว่าทุกคนมีความตั้งใจที่จะเตรียมอาหารคาว หวาน อย่างประณีต เพื่อถวายแด่พระสงฆ์

5 เมนูถวายพระสงฆ์เพื่อสุขภาพ รับวันวิสาขบูชา พร้อมเปิดสูตรวิธีทำ

7 สีผ้าไตรจีวร ควรรู้ก่อนเลือกซื้อถวายพระ 'วันมาฆบูชา 2567'

วิสาขบูชา 2566 : เปิดวิธีดับทุกข์ด้วย “อริยสัจ 4” บอกลาทุกปัญหาของชีวิต

แต่อาหารที่นำไปถวายนั้น ควรใส่ใจในเรื่องของการเลือกอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและดีต่อสุขภาพด้วย เนื่องจากอาหารที่ส่งผลต่อเสียต่อสุขภาพ อาจทำให้พระสงฆ์เสี่ยงป่วยด้วยโรคหวัด ไอ และ เจ็บคอได้ง่าย รวมถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อย่างเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด และโรคปอด ซึ่งเป็นโรคยอดฮิตของพระสงฆ์ไทย

โรคทางโภชนาการปัญหาสำคัญของสงฆ์ไทย

พระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันอาหารได้ เมื่อญาติโยมนำอาหารมาใส่บาตรจึงยากที่จะปฏิเสธ จากสถิติกระทรวงสาธารณสุขปี 2559 ที่รวบรวมอาการเจ็บป่วยของพระสงฆ์และสามเณรทั่วประเทศ พบว่า พระสงฆ์และสามเณรอาพาธด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วนที่ในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจนถึงขั้นวิกฤต

โดยมีข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ  (สสส.) ยืนยันว่า ผลการศึกษาวิจัยเชิงลึกในรอบหลายปีที่ผ่านมา อัตราพระสงฆ์ป่วยมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์กลุ่มอายุเฉลี่ย 40 ปี ที่บวชมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งปี พบว่ามีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนถึง 48% สูงกว่าอัตราการเป็นโรคอ้วนของชายไทยโดยเฉลี่ย ซี่งอยู่ที่ 39%

หนึ่งในปัจจัยสำคัญมาจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เน้นความรวดเร็ว เลือกซื้อรับประทานอาหารแพ็ก อาหารแปรรูปกันมากขึ้น อาทิ แกงเขียวหวาน พะโล้ ผัดกะเพรา ของทอด รวมถึงน้ำหวานอย่างกาแฟกระป๋องหรือชาเขียว

สสส. จึงเริ่มรณรงค์โครงการ “สงฆ์ไทยไกลโรค” และทุกหน่วยงานสังกัด กระทรวงสาธารณสุข ชวนพุทธศาสนิกชนใส่บาตรด้วยอาหารที่ดีต่อสุขภาพนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

คอนเทนต์แนะนำ
5 เมนูถวายพระสงฆ์เพื่อสุขภาพ รับวันวิสาขบูชา พร้อมเปิดสูตรวิธีทำ
"มาฆบูชา 2567" เตรียมของทำบุญ-ถวายพระ เสริมสิริมงคล
รวมที่เวียนเทียน 2566 ใน "วันมาฆบูชา" เช็กแลนด์มาร์กน่าไปทั่วประเทศ ที่นี่!

การเตรียมอาหารใส่บาตร

การเตรียมอาหารใส่บาตร สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรก คือ คุณค่าทางโภชนาการ แต่จะมีแนวทางการจัดอาหารใส่บาตรที่ถูกต้องอย่างไร มีเทคนิคดังนี้

  • เสริมข้าวกล้อง คือ เลือกตักบาตรด้วยข้าวกล้อง หรืออาจสลับกับอาหารประเภทแป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวโพด เผือก มัน และธัญพืชต่างๆ  เพราะข้าวกล้อง มีสารเส้นใยสูงกว่าข้าวขาวถึง 3-7 เท่า จึงมีประโยชน์ต่อหัวใจ ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันเส้นเลือด และช่วยระบบขับถ่าย
  • เสริมผัก คือ จัดเมนูผักให้มากขึ้นและหลากหลาย เพื่อให้ได้วิตามิน แร่ธาตุ และกากใยอย่างเพียงพอ เพราะแร่ธาตุและกากใย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน
  • เสริมปลา คือ จัดเมนูปลาให้ได้ฉันเป็นประจำ เช่น เมี่ยงปลาทู ปลานึ่งมะนาว ต้มยำปลา เพราะปลาเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ถือเป็นอาหารสุขภาพ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและมะเร็ง แต่ถ้าอยากเลือกเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ อาจเลือกอาหารที่ให้โปรตีนคุณภาพดี แต่มีไขมันต่ำ เช่น ไข่ อกไก่ สันในหมู และเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ไม่ติดไขมัน แทน
  • เสริมนม คือ อาหารประเภทผัดหรือแกงที่ต้องใช้กะทิเป็นส่วนประกอบ ให้ลดการใส่กะทิลง แล้วใช้นมจืดไขมันต่ำหรือนมไร้ไขมันแทน เพราะนมมีโปรตีนและแคลเซียมสูง จะช่วยลดความเสี่ยงกระดูกพรุนได้ ขณะเดียวกันแนะนำให้เลือกนมโคหรือนมถั่วเหลืองเป็นน้ำปานะ แทนน้ำหวานหรือน้ำอัดลม
  • ลดหวาน คือ เลือกผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีน้ำตาลน้อย หรือควรเลือกทานผลไม้แทนขนมยอดนิยม เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น ปลากริม ลอดช่อง ฯลฯ
  • ลดไขมัน คือ ลดอาหารประเภททอดและแกงกะทิลง ควรเลือกเมนูที่ใช้ไขมันน้อย เช่น ต้ม ตุ๋น ปิ้ง ย่าง นึ่ง หรือ จี่
  • ลดเค็ม คือ ควรจำกัดปริมาณเกลือโซเดียมที่มาจากเครื่องปรุงต่างๆ ได้แก่ เกลือแกง ผงชูรส ผงปรุงรส น้ำปลา ซีอิ้ว รวมถึงโซเดียมจากอาหารหมักดอง อาหารแปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป

เมนูอาหารแนะนำตักบาตร

อาหาร :  ข้าวกล้อง ลาบปลา ปลานึ่ง น้ำพริก-ผักลวก แกงส้ม แกงเลียง ยำสมุนไพร เนื้อปลา หรือ เน้นวัตถุดิบในการทำอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น ไก่ กุ้ง

ผลไม้ : มะละกอ ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง แตงโม ส้มโอ แอปเปิ้ล สาลี่

น้ำปานะ : นมโค นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต

การได้เลือกอาหารใส่บาตรที่มีคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากจะได้บุญแล้ว ยังช่วยทำนุบำรุงศาสนาให้แข็งแรงยั่งยืนสืบไปด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก :  กระทรวงสาธารณสุข และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

แจกพิกัดเวียนเทียน "ที่วัด-ออนไลน์" รับวันวิสาขบูชา 2566

เข้าพรรษา2566 คัดมาแล้ว 36 คติธรรม! ธรรมะของคนทำงาน

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ