7 สีผ้าไตรจีวร ควรรู้ก่อนเลือกซื้อถวายพระ 'วันมาฆบูชา 2567'


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เตรียมของก่อนทำบุญใหญ่ 'มาฆบูชา 2567' ถวายผ้าไตรจีวรสีไหนความหมายอะไร ใช้ได้จริง? ถูกหลักพระธรรมวินัย

ในปี 2567 วันมาฆบูชา ตรวกับวันเสาร์ 24 กุมภาพันธ์ และหยุดชดเชยต่อใน วันจันทร์ 26 กุมภาพันธ์ หลายคนมีแผนเตรียมของถวายพระกันแล้ว ซึ่งในการเลือกซื้อผ้าไตรจีวรถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่นิยมในหมู่สายบุญ แต่การถวายไตรจีวรซึ่งเป็นเครื่องสงฆ์ต้องเลือกแบบไหนกันล่ะ พีพีทีวีไขความกระจ่างให้แบบหมดเปลือก ตั้งแต่ความเป็นมาของไตรจีวร ต้องเลือกซื้อแบบไหนถึงไม่ผิดธรรมวินัย รวมถึงพระภิกษุสงฆ์ท่านสามารถนำมาใช้ได้จริง เพราะการเลือกผ้าไตร จีวร ก็เหมือนกับการเลือกซื้อเสื้อผ้าที่สวมใส่ 

คอนเทนต์แนะนำ
มาฆบูชา 2567 : รู้ประวัติ “การเวียนเทียน” ทำไมถึงสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน
ปฏิทินวันพระ 2567 เช็กวันสำคัญทางศาสนา-วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่เท่าไร
"วันมาฆบูชา 2567" 14 ดอกไม้ ถวายพระ ความหมายมงคล ขอพรเรื่องใด ถวายดอกนั้น

ถวายผ้าไตรจีวร 2567 พีพีทีวี
ถวายผ้าไตรจีวร มี 7 สี แต่ละสี สื่อความหมายที่แตกต่างกัน

ที่มาของผ้าไตรจีวร

พระพุทธบัญญัติจีวร ลงรายละเอียดไว้ว่า เมื่อก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ปรารภเรื่องสีของจีวรที่พระฉัพพัคคีย์ห่มจีวรหลากสีทั้งสีแดงล้วน เขียวล้วน เหลืองล้วน ดำล้วน เขียวครามล้วน บานเย็นล้วน ชมพูล้วน จนเป็นข้อครหาของชาวบ้านว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ห่มจีวรมีสีเหมือนผ้าคฤหัสถ์ พระองค์จึงทรงตรัสเรื่องการใช้สีของจีวรซึ่งปรากฏมีมาในพระไตรปิฎก วินัยปิฎก เล่ม 5 จีวรขันธกะ มหาวรร

ผ้าไตรจีวรคืออะไร

ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าจีวร ๓ ผืน คนไทยเรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง) แต่นิยมเรียกรวมกันว่า ไตรจีวร ไตรจีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 8 อย่าง

“วันเข้าพรรษา” วันจำพรรษาของพระสงฆ์ เช็กหลักธรรม-กิจกรรมพุทธศาสนิกชนทำได้

คอนเทนต์แนะนำ
"ข้าวต้มมัด" ขนมมงคลของคู่รัก รับเทศกาล "วันเข้าพรรษา 2566"

ผ้าไตรจีวรแต่ละสีมีความหมายอย่างไร

จาก อภิสมาจาริกาสิกขา มหาวรรค-ภาค-2 จีวรขันธกะ ว่าด้วยจีวร การตัดจีวร และการใช้ผ้าต่าง ๆ ทรงอนุญาตสีย้อมจีวร 6 ชนิด คือ ที่ทำจาก รากไม้, ลำต้นไม้, เปลือกไม้, ใบไม้, ดอกไม้ และ ผลไม้ และทรงอนุญาตวิธีการและอุปกรณ์ต่างๆ ในการซักย้อมจีวร คืออนุญาตหม้อต้มน้ำย้อม ผูกตะกร้อกันน้ำล้น กระบวยตักน้ำย้อม อ่างหม้อและรางสำหรับย้อม ราวจีวรสายระเดียง ผูกมุมจีวรตาก ด้วยผูกมุมจีวร ทุบซักจีวรด้วยฝ่ามือ รายละเอียดเกี่ยวกับสีของจีวรพระส.ห์เอาไว้ดังนี้

  1. สีเหลืองส้ม ใช้ในวัดของมหานิกาย มีไม่ต่ำกว่าสามเฉดสี
  2. สีแก่นขนุน หรือ สีกรัก คือสีน้ำตาลอมเหลือง เดิมนิยมใช้ในวัดธรรมยุติกนิกาย
  3. สีพระราชนิยม อยู่กึ่งกลางระหว่างสีเหลืองส้มกับแกนขนุน พระสงฆ์ทั้งมหานิกายแธรรมยุตใช้ครองในงานพระราช
  4. สีแก่นขนุนเข้ม นิยมใช้กันในหมู่พระป่า หรือพระสายกรรมฐานทางภาคอีสาน
  5. สีกรักแดง หรือ สีน้ำหมาก"ครูบา" พระสงฆ์ภาคเหนือบางส่วนครองตามแบบแผนสงฆ์พม่า
  6. สีกรักดำสีน้ำตาลอมม่วง เป็นสีจีวรของพระธุดงค์
  7. สีน้ำตาล "สมณะ" หรือนักบวชของสำนักสันติอโศกเลือกใช้ให้ต่างกับสีจีวรทั่วไป

ผ้าไตรสีจีวรที่ผิดธรรมวินัย

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๕ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ ระบุรายละเอียดของสีที่ทรงห้ามมี 7 สี บางแห่งระบุว่า สีต้องห้าม คือ สีดำ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด และสีชมพู  อย่างไรก็ตาม การย้อมสีจีวร จะไม่ ย้อมสีเหลืองล้วน เพราะผิดพระวินัย จึงย้อมสีเหลืองปนสีอื่น 

  1. สีเขียวครามเหมือนดอกผักตบชวา
  2. สีเหลืองเหมือนดอกกรรณิการ์
  3. สีแดงเหมือนชบา
  4. สีหงสบาท (สีแดงกับเหลืองปนกัน)
  5.  สีดำเหมือนลูกประคำดีควาย
  6.  สีแดงเข้มเหมือนหลังตะขาบ
  7. สีแดงกลายแดงผสมคล้ายใบไม้แก่ใกล้ร่วงเหมือนสีดอกบัว

เตรียมเซ็ตผ้าไตรจีวรมีอะไรบ้าง

การทำบุญด้วยการถวายผ้าไตร เพื่อให้พระท่านได้นำไปใช้ครองได้จริง ดั่งความตั้งใจของผู้ถวายมีที่จิตศรัทธานั้น ควรต้องทำความเข้าใจในการเลือกให้ถูกต้องเหมาะสม และเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์

  1. ผ้าจีวร หรือ อุตราสงค์ คือ ผ้าห่ม ที่ใช้ห่มร่างกาย
  2. ผ้าสบง หรือ อันตรวาสก คือ ผ้านุ่ง ใช้นุ่งปกป้องช่วงล่าง
  3. สังฆาฎิ คือ ผ้าห่มซ้อน หรือผ้าพาดบ่า
  4. ผ้ารัดอก คือ ผ้าสำหรับรัดอก เพื่อให้การนุ่งห่มเรียบร้อย
  5. อังสะ คือ ผ้าชั้นในสุด มีกระเป๋าหรือไม่มีแล้วแต่การตัดเย็บ ใช้สำหรับสวมใส่อยู่วัดตามลำพัง

คำกล่าวถวายผ้าไตร

อิมานิ มะยัง ภันเต
ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ
สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ติจีวะรานิ สะปะริวารานิ
ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง
ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

แปลไทย

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับผ้าไตรจีวรกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ

 

ที่มา :  พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง)  , วินัยปิฎก , คำกล่าวถวายผ้าไตร

เปิดตำราข้อควรปฏิบัติของชาวพุทธ ใน “วันมาฆบูชา 2567”

ย้อนฟังเรื่องราว “ไอซ์ ปรีชญา” มรสุมทดสอบชีวิต

ราชทัณฑ์ แจงปล่อยตัวพักโทษ “ทักษิณ” เป็นไปตามกฎหมาย

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ